Grab

grab

Grab

Grab หนึ่งในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา เราจะสังเกตุได้ว่ามีรถมอเตอร์ไซหรือไรเดอร์ใส่ชุดสีเขียวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแค่เหล่าไรเดอร์ที่ขับรถส่งอาหารเท่านั้น แต่ยังมีคนขับรถส่งผู้โดยสารที่เปรียบเสมือนแท็กซี่อีกด้วย

หากยังพอจำกันได้ จะมีช่วงหนึ่งที่กระแสดราม่าแท็กซี่โหมกระพืออย่างหนักในโลกโซเชียล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่เกิดจากแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร รับแต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หรือมิจฉาชีพที่แฝงมาในคราบคนขับแท็กซี่ เหล่านี้เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นทุกวัน แต่การถูกแท็กซี่ปฏิเสธน่าจะเป็นปัญหาชวนปวดหัวที่เกิดขึ้นกับคนใช้บริการแท็กซี่กันมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะหลีกเลี่ยงได้ยากสำหรับบางคนที่จำเป็นต้องใช้บริการแท็กซี่จริงๆ

แต่ในช่วงหนึ่งถึงสองปีให้หลังนี้ ชีวิตการเดินทางของคนเมืองที่ต้องใช้บริการแท็กซี่สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน สมาร์ทโฟนในมือไม่เพียงแค่ให้ความบันเทิงหรือเพียงแค่ติดต่อสื่อสาร แต่ยังอำนวยความสะดวกในการเรียกรถแท็กซี่ด้วยแอพพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็น Easy Taxi,Uber, All Thai Taxi  หรือ แกร็บTaxi ที่เราจะเล่าถึงกันในวันนี้ หลายคนอาจพอรู้ที่มาที่ไปของ แกร็บTaxi กันมาบ้างแล้ว แต่เราขอปูพื้นด้วยเรื่องราวการกำเนิด แกร็บTaxi ให้เข้าใจกันง่ายๆ

จุดเริ่มต้นของ Grab

จุดเริ่มต้นของ Grab

แกร็บTaxi ก่อตั้งโดย 2 นักศึกษาชาวมาเลเซียที่เป็นเพื่อนร่วมชั้นกันจาก Harvard Business School สหรัฐอเมริกา คือ Anthony Tan (แอนโธนี ตัน) และ Hooi Ling Tan (โฮย หลิง ตัน) ไอเดียของทั้งคู่ เริ่มจุดประกายเมื่อตอนที่เรียนอยู่ที่ Harvard Business School แล้วได้รับรู้ถึงปัญหาจากเพื่อนของเขาที่มักบ่นอยู่เสมอว่า มาเลเซียเรียกแท็กซี่ยากปัญหาของเพื่อนถูกนำไปคิดต่อยอด จนเกิดเป็น MyTeksi ซึ่งเดิมทียังเป็นเพียงแผนธุรกิจที่ชนะการประกวดอันดับ 2 จาก business plan competition 2011 ของ Harvard Business School

หลังจากนั้น ทั้งคู่เริ่มหาเงินทุน โดยใช้วิธีเดินเข้าไปเสนอแผนธุรกิจดังกล่าวให้แก่บริษัทที่ให้บริการจัดหารถแท็กซี่จำนวนมาก แต่มีเพียงแค่ 5 บริษัทกับจำนวนแท็กซี่แค่ 30 คันที่สนับสนุนแนวคิดของเขา อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 12 เดือนต่อมา ทั้งคู่ได้เงินสนับสนุนกว่า 3,000 ล้านบาท จากกองทุนเฮดฟันด์ที่ขื่อว่า Vertex Venture Holdings ทำให้บริษัทเริ่มเติบโตและมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2012 แกร็บ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในมาเลเซีย ในปี 2013 เปิดตัวในฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย และ ในปี 2014 เปิดตัวในเวียดนามและอินโดนีเซีย ทำให้ปัจจุบันนั้น แกร็บTaxi ได้เข้าไปปักธงแล้ว 6 ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทนั้นมุ่งเน้นทำตลาดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งที่ผ่านมาก็เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะแถบนี้ยังไม่มีระบบการคมนาคมที่พัฒนามากนัก และระบบแท็กซี่ดั้งเดิม

Grab ประเทศไทย

แกร็บ เริ่มเปิดให้บริการในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี 2013 โดยเริ่มจากบริการขนส่งผู้โดยสารอย่าง แกร็บTaxi จากปัญหาในการเรียกใช้งานรถสาธารณะของประเทศไทยที่สะสมมานานก็ทำให้แกร็บ กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมขึ้นมาแบบข้ามคืนทันที Transport Solution จึงกลายเป็นกระดูกสันหลังของแกร็บ ที่คนไทยจดจำเสมอมา

อินไซด์ของคนกรุงเทพที่มีต่อแท็กซี่ในเมืองค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในกรณีที่เรียกรถแล้วถูกแท็กซี่ปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถ้าไม่อยากมีเรื่องมีราวหรือเสียเวลาไปมากกว่าเดิม เราจำต้องยอมปิดประตูแล้วโบกเรียกคันใหม่ ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่าคันถัดไปจะไม่ปฏิเสธเราเหมือนคันก่อนหน้านี้ การเรียกแท็กซี่จึงเหมือนเป็นชาเลนจ์หนึ่งในชีวิตประจำวันของคนเมืองไปโดยปริยาย

บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2013 * ด้วยทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท สัดส่วนการถือหุ้น 50.9993% บริษัท แกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้ง พีทีอี จำกัด ที่บริถือหุ้น 49% (ปัจจุบันโครงสร้างการถือหุ้นมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการระดมทุนจำนวนมากเพื่อขยายการเติบโตของบริษัท)
* ข้อมูลจากนิตยสาร Forbes Thailand ฉบับ June 2015

GrabTaxi Thailand ภายใต้การบริหารของ สาวชาวไทย

จุฑาศรี คูวินิชกุล

จากที่มาที่ไปของ แกร็บTaxi ตามที่ได้เล่าไปในตอนต้น Anthony Tan และ Hooi Ling Tan สองนักศึกษาจาก Harvard Business School เป็นผู้ริเริ่มและช่วยกันพัฒนาแอพบนสมาร์ทโฟนให้มีประสิทธิภาพในการเรียกรถแท็กซี่ จนสามารถไปปักธงใน 24 เมืองผ่าน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถดึงนักลงทุนให้มาร่วมขับเคลื่อนศักยภาพนี้ ด้วยตัวเลขเงินทุนมากกว่า 340 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับ แกร็บTaxi Thailand เปิดตัวไปแล้วใน 4 หัวเมืองใหญ่ กรุงเทพฯ พัทยา เชียงราย และภูเก็ต ภายใต้การบริหารของ Director สาวไทยคนเก่ง วัย 32 ปี “จุฑาศรี คูวินิชกุล” ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นของ Anthony ที่ Harvard Business School

เริ่มธุรกิจจาก “ส่งคน”

เริ่มธุรกิจจาก “ส่งคน”

แกร็บ เริ่มเปิดให้บริการในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี 2013 โดยเริ่มจากบริการขนส่งผู้โดยสารอย่าง Grab Taxi จากปัญหาในการเรียกใช้งานรถสาธารณะของประเทศไทยที่สะสมมานานก็ทำให้แกร็บ กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมขึ้นมาแบบข้ามคืนทันที Transport Solution จึงกลายเป็นกระดูกสันหลังของแกร็บ ที่คนไทยจดจำเสมอมา

ทุกวันนี้แกร็บ มีการเปิดให้บริการในประเทศไทยแล้วถึง16 จังหวัดซึ่งทางแกร็บ เองก็วางแผนที่จะเปิดให้บริการครบ20 จังหวัดในปีนี้โดยเมืองที่17, 18 ซึ่งแกร็บ เตรียมเปิดให้บริการเพิ่มเติมจากนี้ก็คือหัวหินและบุรีรัมย์ โดยปัจจุบันแกร็บ มีให้บริการหลายรูปแบบทั้งรถ4 ล้อไม่ว่าจะเป็นแกร็บTaxi, แกร็บCar, แกร็บXL, แกร็บRent,แกร็บRodDeang เชียงใหม่ไปจนถึงรถมอเตอร์ไซด์อย่าง แกร็บBike (Win)

ต่อยอดสู่การ “ส่งอาหาร”

ต่อยอดสู่การ “ส่งอาหาร”

ถ้าเราสังเกตให้ดี จะพบว่าธุรกิจที่ แกร็บ เลือกเปิดให้บริการในแต่ละเมืองนั้นล้วนแล้วแต่เป็นงานบริการที่มีความต้องการสูงทั้งสิ้น เพราะเป็นความต้องการพื้นฐานของคนเมือง ปลายปีที่ผ่านมา แกร็บ เริ่มมีการทดลองให้บริการใหม่ที่เรียกว่า Grab Food หรือบริการส่งอาหารถึงที่ผ่านพาร์ทเนอร์ของGrab Bike ที่ให้บริการอยู่แล้วก่อนหน้านี้ ถือเป็นการเติมเต็มในส่วนของ Delivery Solutionได้เป็นอย่างดี

หลังจากทดลองได้ 6 เดือน ก็ตัดสินใจเปิดให้บริการส่งอาหารอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 พฤษภาคม โดยในระยะแรกของการให้บริการส่งอาหาร จะบริการส่งอาหารจากร้านอาหารที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรจำนวน4,000 ร้าน โดยลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากตำแหน่งที่เรียกใช้งานได้ในรัศมี 5 กิโลเมตร

การกำหนดรัศมีการให้บริการอยู่ที่ระยะ 5 กิโลเมตร รอบตัวนั้นเหตุผลมาจาก แกร็บ ต้องการให้ส่งอาหารให้ได้เร็วที่สุดนั่นเอง โดยในช่วงเปิดตัว แกร็บ จะให้บริการฟรีไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ หลังจากนั้นจะมีการคิดค่าบริการตามระยะทางโดยเริ่มต้นที่10 บาท ธนินทร์ กล่าวย้ำว่า การเปิดให้บริการ แกร็บFood ครั้งนี้ถือเป็นการเติมเต็ม Ecosystem ที่ Win-Win-Win

ข้อดีของผู้บริโภคคือ สามารถสั่งอาหารจากมือถือได้เลย ส่วนพาร์ทเนอร์หรือคนขับ ก็มีโอกาสในการเพิ่มรายได้มากขึ้น เพราะสามารถรับงานได้ทั้ง ขา คือ ส่งคนส่งของ และส่งอาหาร ส่วนร้านอาหารก็จะได้อะไรที่มากกว่าการขายหน้าร้าน เพราะสามารถรับ Online Order ซึ่งเป็นช่องทางการขายใหม่ จากการทดลองเปิดให้ใช้บริการอย่างไม่เป็นทางการ ก็พบว่า ในช่วง6 เดือนที่ผ่านมา มีคนทดลองใช้บริการ แกร็บFood เพิ่มขึ้นถึง 440%

ความสำเร็จของ Grab ในประเทศไทย

ความสำเร็จของ Grab ในประเทศไทย

ในช่วงระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา Grab สามารถสร้างสถิติได้ในหลายๆ เรื่อง อาทิ จำนวนระยะทางรวมที่ Grab ได้ให้บริการผู้โดยสารสูงถึง 1,200,000 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่สามารถเดินทางจากเหนือจรดใต้ของประเทศไทยได้ถึง 700,000 เที่ยว โดยลูกค้าที่ใช้บริการมากที่สุดมีสถิติใช้บริการของ Grab ถึง 7,000 เที่ยว มีการสั่งอาหารกว่า 670 ออร์เดอร์ และส่งพัสดุไปแล้ว 2,500 ชิ้น

ธุรกิจที่น่าสนใจ : ชาพะยอม

แนะนำที่เที่ยว : ทะเลใต้ ส๊วยสวยต้องไปสักครั้ง